ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วางแผนการใช้จ่าย

การจัดการด้านการเงินของโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ไม่ว่าจะกี่ห้อง 4 ห้อง 15 ห้อง 35 ห้อง เป็นสิ่งจำเป็น อย่าไปคิดว่าโรงแรมที่พักขนาดเล็กไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณ วางแผนค่าใช้จ่าย  ต้องแยกประเด็นให้ถูกเวลาเราพูดถึงจัดทำงบประมาณ  อย่าไปกังวลกับรูปแบบว่าจะต้องมีรูปแบบตารางเหมือนเช่นกับโรงแรมขนาดใหญ่  เจ้าของกิจการหลายท่านมักมีข้อกังวลตรงนี้ เพราะเวลาเข้าร่วมสัมนาหรือไปฟังบรรดาผู้รู้ทั้งหลายอธิบาย แล้วนำตัวอย่างตาราง หรือรายงานของโรงแรมขนาดใหญ่มาแสดงให้ดู  ก็เลยถอดใจตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น   เปลี่ยนความคิดใหม่ และเริ่มจากในสิ่งที่เราทำได้ในแบบของเรา แล้วค่อยๆพัฒนาให้มีความละเอียดมากขึ้น

การนั่งดูแต่รายรับหรือขาเข้าที่เข้ามาในแต่ละวัน โดยที่ไม่เคยมีการจัดระเบียบทั้งฝั่งค่าใช้จ่าย หรือขาออก เมื่อกิจการเติบโตมากขึ้น ความสลับซับซ้อน หรือจำนวนรายการก็จะมากขึ้น แต่ถ้าเราจัดหมวดหมู่รายการให้เป็นกลุ่มเป็นประเภทให้ชัดเจน เพื่อที่เราจะได้รู้สถานะของเรา จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการ และรู้ได้ว่า ตรงไหนเราจะสามารถปรับ ตัด ลดได้โดยไม่กระทบกับส่วนอื่นๆของโรงแรม

อาจจะเริ่มจากง่ายๆโดย
1) แบ่งตามความถี่ในการใช้จ่ายก็ได้ เช่น รายจ่ายอะไรบ้างที่ต้องมีจ่ายแบบรายวัน  รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี  ลองรวบรวมรายการออกมา
2) ดูรายละเอียดของแต่ละรายการในแต่ละหมวดหมู่ ว่ามีรายการอะไรที่จะจัดกลุ่มจัดประเภทในกลุ่มเดียวกันได้  เช่น ของสด อาหารแห้ง เครื่องกระป๋อง ส่วนหนึ่ง  ตะปู หลอดไฟ ไขควง ค้อน เครื่องสูบน้ำ สายยางรดน้ำต้นไม้ อีกกลุ่ม  กระดาษ A4 หมึกพิมพ์  ที่หนีบกระดาษ ซองจดหมาย  อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น
3) อาจจะแยกตามหมวดหมู่ของแผนกการทำงานต่างๆ ก็ได้เช่น แผนกแม่บ้าน แผนกช่าง ส่วนสำนักงาน
4) จัดบันทึกรายการสินค้าคงคลัง หรือของที่มีอยู่ในสต๊อกของแต่ละแผนก ว่าของแต่ละรายการมีอยู่มากน้อยเท่าไหร่  ทั้งนี้เพื่อที่เวลาต้องการจะซื้อ จะได้มาตรวจสอบก่อนว่าเรายังมีของที่ใช้งานในคงเหลืออยู่เท่าไหร่ และจะเพียงพอสำหรับการใช้งานอีกกี่วัน  บางทีอาจช่วยยืดระยะเวลาในการสั่งซื้อออกไปได้

การที่เราแยกตามความถี่ในการใช้จ่าย และแบ่งเป็นหมวดหมู่ เราจะเห็นความจำเป็นในการใช้จ่ายของแต่ละอย่าง ให้สัมพันธ์กับทางด้านรายได้ที่เข้ามา  เช่น เมื่อโรงแรมมีจำนวนลูกค้าเข้าพักมาก หรือมีอัตราการการเข้าพัก (Occupancy Rate)สูง แน่นอนว่าค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเครื่องใช้ในห้องพัก ก็จะมีรายการใช้งานเพิ่มขึ้นในเดือนนั้นๆ   หรือในกรณีที่มีลูกค้าใช้บริการห้องอาหารปริมาณมาก  ต้องสั่งน้ำอัดลมจำนวนหลายลังเข้ามาสำรอง  ถ้าเราไม่มีการบันทึกของที่ยังคงค้าง และยอดการขายที่ขายออกไป การสั่งสินค้าเข้ามาใหม่ ก็จะขึ้นกับความต้องการเฉพาะหน้าเป็นหลัก

การที่คุณเป็นโรงแรมที่พักขนาดเล็ก และไม่ได้อยู่ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลจากร้านค้า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกักตุนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนหรือบ้านเมืองเกิดกรณีคับขัน  ดังนั้นบางครั้งเวลาพนักงานร้องขอสินค้าในจำนวนมากเกินไป เป็นหน้าที่ของคุณที่จะพิจารณาในเรื่องความเหมาะสม ซึ่งคุณควรจะรู้วงจรหรือรอบของการใช้สินค้าและสิ่งของภายในโรงแรมเป็นอย่างดี   หลายโรงแรมบางครั้งมีรายการสินค้าในส่วนห้องอาหารที่สั่งมาคราวละมากๆ จนสินค้านั้นหมดอายุ เพราะกะประมาณจำนวนที่ต้องการใช้ไม่สัมพันธ์กับจำนวนที่คาดว่าจะขายได้ หรือที่จะใช้  เช่น พวกเครื่องกระป๋อง หรือเครื่องเทศจากต่างประเทศ ที่นานๆอาจจะใช้เพราะร้านอาหารของโรงแรมคุณขายอาหารไทยเป็นหลัก ไม่ใช่อาหารฝรั่ง  ดังนั้นในกรณีที่คุณไม่รู้ หรือไม่แน่ใจในข้อมูลอาจสุ่มสอบถามจากพนักงานที่ใช้งานก็ได้ ว่าหนึ่งขวด หรือหนึ่งกระป๋อง สามารถใช้งานได้กี่ครั้ง ใช้ไม่หมดแล้วเก็บอย่างไร ที่จะไม่เสีย เป็นต้น

การบริหารการสั่งสินค้า และสินค้าคงเหลือในสต๊อก สามารถช่วยคุณประหยัดได้ หากมีการจัดการให้เหมาะสมกับยอดการขาย หรือปริมาณการใช้ในแต่ละเดือน  แต่คุณจะไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เลย หากคุณไม่เริ่มจดบันทึกอย่างเป็นระบบ  ย้ำ จดบันทึกอย่างเป็นระบบ อย่าไปกังวลกับรูปแบบว่าต้องสวยงาม  แต่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยการทำงานแล้ว ก็ควรเริ่มหัดใช้งานให้คล่อง แล้วเทคโนโลยีจะช่วยการทำงานของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อยู่ให้รอด ต้องเริ่มจัดระบบ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

BOH1-01 : ทรัพย์สิน และหลังบ้านของโรงแรม

สำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็ก หลังบ้านจะช่วยจัดการงานอย่างไร? ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีข้อจำกัดด้านการลงทุนที่แตกต่างกัน แต่เราไม่ควรนำข้อจำกัดนั้นมาเป็นข้ออ้าง "การไม่ลงมือทำ" เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันแต่อย่างใด เราลองมาดูตัวอย่าง การทำทะเบียนทรัพย์สิน และจดบันทึกรายการเครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆของแต่ละแผนกกันว่า ทำไมจึงเป็นปัญหาและมักเป็นข้ออ้าง ข้อหลีกเลี่ยงของพนักงานแม้กระทั่งในระดับหัวหน้างานเองที่มักจะเลือกที่จะทำรายการนี้ในลำดับหลังๆ  ถ้าพบเห็นพนักงานที่มีลักษณะเช่นนี้ แนะนำให้พิจารณาทบทวนใหม่เพราะไม่ใช่คุณสมบัติของพนักงานฝ่ายบัญชีการเงินที่ดีแต่อย่างใด การทำทะเบียนทรัพย์สินและการจดบันทึกรายการซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ควรเริ่มลงมือทำตั้งแต่โครงการเริ่มก่อสร้างโดยแยกออกให้ชัดเจนระหว่างการก่อสร้าง การเตรียมการก่อนเปิด และเมื่อโรงแรมเปิดให้บริการ สำหรับโรงแรมที่ไม่ได้มีการสั่งซื้อระบบบันทึกข้อมูลด้านทรัพย์สินสำหรับแผนกบัญชี ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล เราสามารถทำรายการจดบันทึกได้โดยจัดเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน จะจดบันทึกลงในสมุดและคั่นด้วยกระดาษแบ่

BOH1-02 : นับถอยหลังก่อนเปิดโรงแรม ต้องทำอะไรบ้าง

โรงแรมที่พักขนาดเล็ก รวมทั้งโฮสเทลในบ้านเรามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ในด้านหนึ่งก็เป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการเพิ่มการแข่งขันระหว่างกันเองในธุรกิจเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นคุณภาพของสินค้าและบริการจึงต้องให้ความสนใจให้มากขึ้น เพื่อที่คุณจะไม่ต้องออกจากธุรกิจด้วยความรวดเร็วจนเกินไปนัก โรงแรมที่พักขนาดเล็กที่เปิดใหม่ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่สร้างใหม่ หรือเป็นโครงการที่นำอาคารเก่ามาปรับปรุงใหม่ ที่ใช้เวลาตั้งแต่ 4-8 เดือนในการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร จริง ๆ แล้วเป็นเวลาที่สั้นมาก ๆ ในการเตรียมงานก่อนเปิดในด้านต่างๆ เพราะฉนั้นควรจะวางแผนการทำงานให้ดี ๆ เรียงลำดับความจำเป็นของงาน และความเร่งด่วนของงาน หลักๆ คือแบ่งงานออกเป็น 4 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1) งานด้านเตรียมการเปิด ได้แก่ การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในโครงการทั้งหมด ทั้งในส่วนที่ทีมงานต้องใช้ในการทำงาน และในส่วนที่ให้บริการลูกค้า ลองไล่เรียงไปแต่ละแผนกว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้อะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ คุณจะเห็นรายการต่างๆมากมาย และนี่ก็คือค่าใ