ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

เปลี่ยนผ่านที่แตกต่าง

สำ หรับโครงการสร้างใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโฮสเทล บูติกโฮเต็ล โรงแรม หรือรีสอร์ท สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับโครงการก่อสร้างอื่นๆ คือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโครงการก่อสร้าง มาเป็นโรงแรมที่พักที่พร้อมให้บริการต้อนรับลูกค้า สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพื่อให้เห็นภาพตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างโครงการคือ ลำดับช่วงเวลา และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ไปจนถึงภาพต่างๆที่จะได้เห็นร่วมกัน  ทั้งทีมผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการ และทีมงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักในหน้าที่และกรอบเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อให้โครงการสำเร็จตามกำหนดและตามเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้าง 8 เดือน แบ่งเป็น - งานฐานราก 2 เดือน - งานโครงสร้างสถาปัตยกรรมพื้นที่ส่วน A  รวม 2 เดือน - ห้องตัวอย่าง (เลือกพื้นที่และห้องที่ต้องการใช้เป็นห้องตัวอย่าง) ภายในเดือนที่ 4 เพื่อให้ทางทีมขายและทีมการตลาดสามารถเตรียมงานด้านการขายและการตลาดได้อย่างเต็มที่ มีเวลาแนะนำโครงการให้กับคู่ค้าต่างๆได้อย่างทั่วถึง - พื้นที่ส่วนสำนักงาน (BOH - Back of the House) เป็นลำดับต่อมา อาจเป็นเดือนที่ 5 เพื่อเตรียมรับสมัครงาน เตรียมทีมปฎิบั

เข้าและออก บริหารให้เป็น

เงินไหลเข้า และเงินไหลออกของธุรกิจโรงแรมที่พักขนาดเล็ก บางครั้งเราอาจละเลยเพราะเป็นรายการเล็กๆ ทีละนิดทีละหน่อย และไม่มีการจดบันทึกกันอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบ ทำให้ตัวเลขต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านค่าใช้จ่ายถูกจัดเก็บอย่างไม่ครบถ้วน ถ้าเราหัดทำรายรับ รายจ่ายอย่างละเอียดและเป็นระบบ จะทำให้เราเข้าใจกลไก และวงจรทางการเงินของธุรกิจเรา และจะช่วยให้การบริหารสภาพคล่องมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การหารายได้แค่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน หากแต่มีเงินสำรองเผื่อในกรณีฉุกเฉินหรือเหตุการ์ณที่เราไม่สามารถคาดการ์ณล่วงหน้าได้ การเงินของธุรกิจโรงแรมก็เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ คือขาเข้า และขาออก  แต่เราควรมาทำความเข้าใจว่า "ขาเข้า" ของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง แหล่งที่มาของรายได้แต่ละรายการมาจากไหน ความถี่ หรือรอบของรายได้ขาเข้าเป็นอย่างไร ซึ่งก็ต้องไล่ย้อนไปถึงเรื่องการตลาด ช่องทางการขายที่เราได้ไปบุกเบิก ทำการตลาดในตลาดต่างๆว่ามีตลาดอะไรบ้าง เงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นอย่างไร  ลองมาดูคร่าวๆกันว่าแหล่งที่มาของรายได้ของโรงแรมมาจากไหน 1) การจองห้องพักโดยตรงกับโรงแรม ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์ อีเ

วางแผนการใช้จ่าย

การจัดการด้านการเงินของโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ไม่ว่าจะกี่ห้อง 4 ห้อง 15 ห้อง 35 ห้อง เป็นสิ่งจำเป็น อย่าไปคิดว่าโรงแรมที่พักขนาดเล็กไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณ วางแผนค่าใช้จ่าย  ต้องแยกประเด็นให้ถูกเวลาเราพูดถึงจัดทำงบประมาณ  อย่าไปกังวลกับรูปแบบว่าจะต้องมีรูปแบบตารางเหมือนเช่นกับโรงแรมขนาดใหญ่  เจ้าของกิจการหลายท่านมักมีข้อกังวลตรงนี้ เพราะเวลาเข้าร่วมสัมนาหรือไปฟังบรรดาผู้รู้ทั้งหลายอธิบาย แล้วนำตัวอย่างตาราง หรือรายงานของโรงแรมขนาดใหญ่มาแสดงให้ดู  ก็เลยถอดใจตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น   เปลี่ยนความคิดใหม่ และเริ่มจากในสิ่งที่เราทำได้ในแบบของเรา แล้วค่อยๆพัฒนาให้มีความละเอียดมากขึ้น การนั่งดูแต่รายรับหรือขาเข้าที่เข้ามาในแต่ละวัน โดยที่ไม่เคยมีการจัดระเบียบทั้งฝั่งค่าใช้จ่าย หรือขาออก เมื่อกิจการเติบโตมากขึ้น ความสลับซับซ้อน หรือจำนวนรายการก็จะมากขึ้น แต่ถ้าเราจัดหมวดหมู่รายการให้เป็นกลุ่มเป็นประเภทให้ชัดเจน เพื่อที่เราจะได้รู้สถานะของเรา จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการ และรู้ได้ว่า ตรงไหนเราจะสามารถปรับ ตัด ลดได้โดยไม่กระทบกับส่วนอื่นๆของโรงแรม อาจจะเริ่มจากง่ายๆโดย 1) แบ่งตามความถี่

จองห้องพักทางไหนดี ?

ช่องทางการจองห้องพักในโลกออนไลน์มีให้เลือกมากมายหลายช่องทาง และด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่มีความเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การแข่งขันของผู้ให้บริการขายห้องพักในโลกออนไลน์มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ปรับปรุงรูปแบบระบบการใช้งานให้ทันสมัย น่าสนใจ และใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญปลอดภัยในเรื่องระบบการชำระเงิน ลองเลือกมา 3 ช่องทางมาตั้งข้อสังเกตกันว่าแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรในด้านการรับรู้ของลูกค้า 1) Online Travel Agent (OTA) ได้แก่พวกรับจองห้องพักทางออนไลน์ ลูกค้าสามารถเข้าไปจองห้องพักได้โดยตรง มีโปรโมชั่นกระหน่ำตลอดเวลา มีราคาให้เลือกทั้งรวมอาหารเช้า ไม่รวมอาหารเช้า ช่องทางนี้ที่เป็นที่นิยมในบ้านเราได้แก่ booking.com, agoda.com, expedia.com เป็นต้น  ซึ่งราคาที่แสดงอยู่บนหน้าจอสำหรับลูกค้านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการจัดการ หรือ Handling fee ซึ่งจะอยู่ประมาณ 800 กว่าบาทต่อการจองแต่ละครั้ง  เพราะฉะนั้นเวลาลูกค้าเจอตัวเลขราคาที่น่าสนใจ ก็จะเข้าไปคลิกทันที  ปัจจุบันยังมีการสร้างโปรโมชั่นแบบใช้ราคาลดกระหน่ำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พร้อมเงื่อนไขการจองที่แตกต่างจากราคาทั่วไป ซ

สื่อสาร ส่งข่าว เล่าเรื่อง

การพัฒนาการสื่อสารที่ดีสำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็ก สามารถเริ่มสร้าง วางแนวทาง และลงมือทำได้ตั้งแต่โครงการกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างไปจนถึงโรงแรมเปิดให้บริการ สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตและพิจารณาให้รอบคอบ 1) การเลือกช่องทางการสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย             จะเลือกช่องทางการสื่อสารอย่างไร คงต้องย้อนกลับไปดูว่าโครงการวางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร อยู่กลุ่มไหน และกลุ่มเป้าหมายนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร ชอบและไม่ชอบอะไร ช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มนี้เลือกใช้เป็นประเภทไหน เช่น ผ่านสื่อโซเชียล ผ่านแม๊กกาซีนชั้นนำต่างๆ ผ่านแคมเปญทางการตลาด ผ่านเว็บไซด์โดยตรงของธุรกิจ เป็นต้น 2) แนวทางการนำเสนออย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน และมีความต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ              แนวทางการนำเสนอ หากเป็นโครงการสร้างใหม่ เพิ่งเริ่มต้น เราควรกำหนดกรอบระยะเวลาว่าในแต่ละช่วงเราอยากให้ลูกค้ารู้จักและรับรู้เราในแบบไหน มากน้อยอย่างไร แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักหรือรายละเอียดของโครงการเข้าไปทีละเล็กละน้อย แต่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนถึงเวลาที่โครงการเปิดดำเนินการ  ยกตัวอย่างเทียบเคียงให้เห็นภาพ เช่น โคร

สร้างตัวตน

จะสร้างโรงแรมแบบไหนดี ? จะสร้างโรงแรมสไตล์ไหนดี ? ประโยคที่มักเป็นคำถามยอดฮิตติดอันดับตลอดกาลสำหรับผู้สนใจลงทุนในธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเพื่อเติมเต็มความฝันของตนเอง สิ่งที่มักจะแนะนำให้ลองคิด ทบทวน และตอบคำถามในเบื้องต้นก่อนคือ "ทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร และทำเพื่อใคร" ส่วนคำตอบที่ได้ก็มีหลากหลายทั้งในเรื่องการเงิน ชื่อเสียง ความฝัน ความชอบส่วนตัว และก็มักจะชวนให้คิดต่อไปอีกว่า "แล้วถ้าไม่ทำ หรือไม่ลงทุนในธุรกิจนี้ จะนำเงินไปลงทุนประเภทอื่นๆได้หรือไม่ โอกาสเป็นอย่างไร " เพื่อเปรียบเทียบหาข้อดี ข้อเสีย โอกาสและช่องทางอื่นๆ แต่ถ้าตกลงปลงใจว่าจะลงมือทำแน่ๆ คงต้องหันมา "สร้างตัวตน" ที่ชัดเจนและแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องตลาด และคำถามที่ผู้ลงทุนมักจะตอบแบบกระอักกระอ่วน หรือยังขาดความชัดเจนในตัวเอง ก็คือ "ทำไมลูกค้าต้องมาพักที่โรงแรมคุณ"  เพราะในคำตอบมีแต่คำว่า "ก็ฉันอยากจะทำ" "ก็ฉันอยากจะสร้าง" ดังนั้นทิศทางในการพัฒนาตัวสินค้าและบริการของโครงการโดยส่วนใหญ่จึงมักจะตั้งต้นมาจาก ความชอบในงานสถาปัตยกรรมหรือรสนิยมส่วนตัวในการตกแต่งภา

ต้นทุนต่างกัน

การสร้างโรงแรมที่พักขนาดเล็กแต่ละโครงการล้วนมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างใหม่ การปรับปรุงอาคารเก่า หรือการลงทุนร่วมกัน  เมื่อแต่ละโครงการมีความแตกต่างกันด้วยปัจจัยตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มลงทุน ดังนั้นแต่ละโครงการย่อมมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ โครงการ A  มีที่ดินมรดกจากครอบครัว ใช้เงินทุนส่วนตัวในการก่อสร้างและเตรียมเปิดดำเนินการ  กับโครงการ B เช่าที่ดินระยะยาว และใช้เงินกู้ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินในการสนับสนุนการก่อสร้าง เป็นต้น ดังนั้นการจะเปรียบเทียบโครงการหนึ่งกับอีกโครงการหนึ่ง จึงควรเปรียบเทียบภายใต้สมมติฐานที่ใกล้เคียงกันเพื่อจะได้เห็นความแตกต่าง จุดเด่น จุดด้อย ความสามารถในการแข่งขัน ไปจนถึงความสามารถในการก่อรายได้ เมื่อคุณสนใจที่จะพัฒนาโครงการขึ้นมาโครงการหนึ่ง สิ่งที่ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วน คือ "ต้นทุน" ของคุณว่ามีอะไรบ้าง และมีจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ คุณมีความสามารถในการบริหารจัดการและดูแลในภายภาคหน้าอย่างไร การมุ่งแต่จะพึ่งพาสถาบันการเงินในสัดส่วนที่สูง หรือมีความเสี่ยงมาก แน่นอน ต้นทุนของคุณก็มีสูงกว่าเมื่อเทียบกับโครงการที่พึ่งพาส